รายชื่อพายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[39] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กม./ชม. (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[40] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[39] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[40] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กม./ชม. (40 mph)[41] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[42] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุถ้ามันถูกใช้ โดยชื่อที่ยังไม่ถูกใช้จะถูกทำเป็น อักษรสีเทา

ชุดที่ 3
  • หว่องฟ้ง (2001)
  • นูรี (2002)
  • ซินลากู (2003)
  • ฮากูปิต (2004)
  • ชังมี (2005)
  • เมขลา (2006) (ใช้ในปัจจุบัน)
  • ฮีโกส (ยังไม่ใช้)
  • บาหวี่ (ยังไม่ใช้)
  • ไมสัก (ยังไม่ใช้)
  • ไห่เฉิน (ยังไม่ใช้)
  • โนอึล (ยังไม่ใช้)
  • ดอลฟิน (ยังไม่ใช้)
  • คูจิระ (ยังไม่ใช้)
  • จันหอม (ยังไม่ใช้)
  • หลิ่นฟา (ยังไม่ใช้)
  • นังกา (ยังไม่ใช้)
  • โซเดล (ยังไม่ใช้)
  • โมลาเบ (ยังไม่ใช้)
  • โคนี (ยังไม่ใช้)
  • อัสนี (ยังไม่ใช้)
  • เอตาว (ยังไม่ใช้)
  • หว่ามก๋อ (ยังไม่ใช้)

ชุดที่ 4

  • กรอวาญ (ยังไม่ใช้)
  • ตู้เจวียน (ยังไม่ใช้)
  • ซูรีแค (ยังไม่ใช้)
  • ฉอยหวั่น (ยังไม่ใช้)
  • โคะงุมะ (ยังไม่ใช้)
  • จำปี (ยังไม่ใช้)
  • ยีนฟ้า (ยังไม่ใช้)
  • เจิมปากา (ยังไม่ใช้)
  • เนพาร์ตัก (ยังไม่ใช้)
  • ลูปิต (ยังไม่ใช้)
  • มีรีแน (ยังไม่ใช้)
  • นิดา (ยังไม่ใช้)
  • โอไมส์ (ยังไม่ใช้)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[43] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) ด้วย[43] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น กริสตีน (Kristine), เลโอน (Leon) และนีกา (Nika) ที่ถูกนำมาแทน กาเรน (Karen) ลาวิน (Lawin) และนีนา (Nina) ที่ถูกถอนไป[43] โดยชื่อที่ยังไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

  • อัมโบ (Ambo)
  • บุตโชย (Butchoy)
  • การีนา (Carina)
  • ดินโด (Dindo)
  • เอนเตง (Enteng)
  • เฟร์ดี (Ferdie)
  • เฮร์เนอร์ (Gener) (ยังไม่ใช้)
  • เฮเลน (Helen) (ยังไม่ใช้)
  • อินเม (Igme) (ยังไม่ใช้)
  • ฮูเลียน (Julian) (ยังไม่ใช้)
  • กริสตีน (Kristine) (ยังไม่ใช้)
  • เลโอน (Leon) (ยังไม่ใช้)
  • มาร์เซ (Marce) (ยังไม่ใช้)
  • นีกา (Nika) (ยังไม่ใช้)
  • โอเฟล (Ofel) (ยังไม่ใช้)
  • เปปีโต (Pepito) (ยังไม่ใช้)
  • กินตา (Quinta) (ยังไม่ใช้)
  • รอลลี (Rolly) (ยังไม่ใช้)
  • โชนี (Siony) (ยังไม่ใช้)
  • โตนโย (Tonyo) (ยังไม่ใช้)
  • ยูลิสซีส (Ulysses) (ยังไม่ใช้)
  • บิกกี (Vicky) (ยังไม่ใช้)
  • วอร์เรน (Warren) (ยังไม่ใช้)
  • โยโยง (โยโยง) (ยังไม่ใช้)
  • โซซีโม (Zosimo) (ยังไม่ใช้)

รายชื่อเพิ่มเติม

  • อาลักดัน (Alakdan) (ยังไม่ใช้)
  • บัลโด (Baldo) (ยังไม่ใช้)
  • กลารา (Clara) (ยังไม่ใช้)
  • เดนซีโย (Dencio) (ยังไม่ใช้)
  • เอสโตง (Estong) (ยังไม่ใช้)
  • เฟลีเป (Felipe) (ยังไม่ใช้)
  • โกเมอร์ (Gomer) (ยังไม่ใช้)
  • เฮลิง (Heling) (ยังไม่ใช้)
  • อิสมาเอล (Ismael) (ยังไม่ใช้)
  • ฮูลีโย (Julio) (ยังไม่ใช้)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.prh.noaa.gov/guam/cyclone.php http://www.hko.gov.hk/informtc/tcMain.htm http://meteo.bmkg.go.id/siklon http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/